การดื่มน้ำทำให้สมองดีได้

จิบน้ำตลอดวัน ทำให้สมองดีได้

ตามปกติแล้วสมองของคนเราจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ประมาณ  70-80 % และสมองของคนเราจะทำงานโดยการส่งผ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันที่เส้นใยสมองที่งอกออกมาจากเซลล์ ในแต่ละวันถ้าขาดน้ำไปบำรุงสมอง ขนาดของเส้นใยสมองก็จะหดตัวเล็กลง ทำให้การรับส่งข้อมูลดังกล่าวช้าลง เพราะฉะนั้นแล้ว น้ำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองของคนเรา ซึ่งในแต่ละวันถ้าเราดื่มน้ำน้อยเกินไป ก็จะทำให้เกิดสภาวะขาดน้ำในเซลล์สมอง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง
ดื่มน้ำบำรุงสมอง
ซึ่งในการบำรุงประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ดื่มน้ำด้วยการจิบทีละน้อยๆ เพื่อให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายของเรา มีเวลาพอในการดูดซึมน้ำ เพราะการดื่มน้ำในปริมาณมากคราวเดียว เซลล์ต่างๆในร่างกายของเราจะดูดซึมน้ำทั้งหมดไม่ทัน ทำให้น้ำที่เราดื่มเข้าไปสูญไปกับปัสสาวะ โดยที่ร่างกายไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร

เคล็ดลับสร้างสมาธิ เสริมความจำของลูกน้อยวัย 6 -12 เดือน

4 วิธีง่ายในการเสริมความจำลูกน้อยวัย 6 – 12 เดือน

1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่บั่นทอนสมาธิ
จากข้อมูลทางการแพทย์ได้ระบุเอาไว้ว่า เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้า เช่น มีเสียงดังอึกทึกคึกโครม มีข้าวของกระจัดกระจายทั่วพื้น หรือมีของเล่นต่างๆมากมายให้เลือกเล่น สิ่งเหล่านี้ล้วนจะส่งผลให้เด็กสมาธิสั้นลง เหตุผลก็เพราะว่าเขาจะไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานเนื่องจากมีของล่อตาล่อใจมากเกินไป พูดง่ายๆก็คือจะเป็นเด็กที่ขาดสมาธินั่นเอง

2. ชวนลูกอ่านหรือฟังนิทาน
การอ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นวิธีสร้างสมาธิได้ง่ายและเป็นวิธีที่ดีที่สุด เราสามารถ ทำได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก เพราะขณะที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสืออยู่นั้น ต้องอยู่ในความเงียบสงบ ลูกจะตั้งใจจดจ่อฟังเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังนั้นอย่างมีสมาธิโดยไม่รู้ตัว

3. เลือกของเล่นที่หลากหลายให้ลูก
การเลือกของเล่นที่แปลกใหม่ทั้งรูปทรง ขนาด และพื้นผิวสัมผัส นำมาให้ลูกเล่นทีละอย่างจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้ลูกนิ่งกับของเล่นตรงหน้าได้ จะทำให้เด็กมีสมาธิดีกว่าการเลือกซื้อของเล่นหลายอย่างในคราวเดียว

4. ซักถามหรือชวนพูดคุยถึงสิ่งที่ลูกเห็นหรือได้สัมผัส
เด็กวัยนี้มักจะสนุกกับการใช้มือจับสิ่งต่างๆ ตรงหน้าขึ้นมาสำรวจอย่างสนใจ หรืออาจเรียกได้ว่าวัยกำลังซน คุณพ่อหรือคุณแม่ลองชวนเขาพูดคุยถึงสิ่งนั้นๆที่เขาได้เห็นหรือหยิบมันขึ้นมา เช่น นิ่มมั๊ย เสียงเพราะมั๊ย น่ารักมั๊ย เพื่อเป็นการเสริมทักษะทางด้านจินตนาการ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความคิดของเด็กอีกด้วย